
คำแนะนำการฟอกสีฟันขาว
การฟอกสีฟันควรงดสูบบุหรี่ก่อนเข้ารับการฟอกสีฟันเนื่องจากควันบุหรี่สามารถทำร้ายเนื้อเยื่ออ่อนของฟันและมีอาจเป็นอุปสรรคในการได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดจากการฟอกสีฟัน ผู้ที่เหมาะสมในการเข้ารับการฟอกสีฟันคือ ผู้ที่มีปัญหาสีของฟันที่เกิดจากการดื่มชา กาแฟ การสูบบุหรี่และจากอายุที่มากขึ้น เป็นต้น
ข้อควรพิจารณาก่อนเข้ารับการฟอกสีฟัน
- 1.ฟันที่มีวัสดุอุด ครอบฟัน สะพานฟัน รวมถึงฟันปลอมชนิดต่าง
กรณีที่มีการบูรณะฟันหน้าด้วยวัสดุเรซิน เซรามิก หรือได้รับการทำครอบฟัน สะพานฟันและเคลือบผิวฟันแล้วนั้น การฟอกสีฟันจะไม่สามารถเปลี่ยนสีของวัสดุดังกล่าวได้ ดังนั้นหลังการฟอกสีฟัน ผู้เข้ารับบริการอาจต้องเข้ารับการเปลี่ยนวัสดุดังกล่าวให้มีสีเหมือนฟันที่ขาวขึ้น - 2.ฟันที่บอบบางเกิดอาการเสียวฟันได้ง่าย หรือมีอาการแพ้สารเพอร์ออกไซด์
สำหรับผู้ที่มีอาการเสียวฟันได้ง่ายอยู่ก่อนแล้วซึ่งอาจเกิดจากปัญหาเหงือกร่น ฟันสึก หรือเกิดจากการรั่วของวัสดุที่อุดฟัน เป็นต้น ควรเข้ารับคำปรึกษาจากทันตแพทย์ก่อนทุกครั้ง รวมถึงผู้ที่มีอาการแพ้สารประเภท ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในการฟอกสีฟัน อาการเสียวฟันที่เกิดจากการฟอกสีฟันนั้น เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้เข้ารับบริการบางท่าน ซึ่งอาการดังกล่าวจะลดลงและสามารถหายได้เองภายใน 1 – 2 วัน - 3.ฟันตกกละหรือมีสีเทาที่เป็นผลข้างเคียงจากยาประเภทเตตร้าไซคลีน
สำหรับผู้เข้ารับบริการที่มีปัญหาฟันตกกละหรือมีสีเทาอันเกิดจากการได้รับยาปฏิชีวนะประเภทเตตร้าไซคลีน หรือด้วยสาเหตุใดๆก็ตาม การฟอกสีฟันด้วยเลเซอร์อาจช่วยปรับระดับสีฟันได้เพียงระดับหนึ่ง แต่ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาฟันสีเทาให้ขาวตามธรรมชาติได้ - 4.คอฟันมีสีเหลืองหรือน้ำตาล
การฟอกสีฟันด้วยเลเซอร์ไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้เนื่องจากทันตแพทย์จำเป็นต้องทำการป้องกันการโดนน้ำยาฟอกสีฟันบริเวณคอฟันและเหงือกด้วยน้ำยาพิเศษ ทำให้ฟันบริเวณคอฟันจะโดนน้ำยานี้คลุม ทำให้ไม่สามารถใส่น้ำยาฟอกสีฟันบริเวณนั้นได้ - 5.สตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตร
ทันตแพทย์ไม่แนะนำให้สตรีมีครรภ์หรือสตรีที่ให้น้ำนมบุตรเข้ารับการฟอกสีฟัน แม้จะยังไม่มีรายงานเรื่องผลข้างเคียง เนื่องจากการฟอกสีฟันไม่จำเป็นต้องทำเร่งด่วน ดังนั้นควรทำในระยะเวลาที่ปลอดภัยที่สุดจะดีกว่า - 6.ฟันที่มีความใส
ฟันที่มีความใสสามารถฟอกสีฟันได้แต่สีฟันอาจจะเปลี่ยนไม่มากเท่าฟันที่มีสีขุ่น - 7.ข้อต่อขากรรไกรมีปัญหา
สำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านขากรรไกร ทันตแพทย์อาจทำการฟอกสีฟันด้านบน หรือ ล่างก่อน แล้วจึงฟอกด้านที่เหลือหลังจากการหยุดพัก เพื่อความสะดวกสบายของผู้เข้ารับบริการ - 8. โรคเหงือกและฟันผุ
ผู้ที่มีปัญหาโรคเหงือกหรือมีฟันผุ อาจต้องเข้ารับการรักษาโรคดังกล่าวก่อนเข้ารับการฟอกสีฟัน - 9.ความคาดหวังจากการฟอกสีฟัน
การฟอกสีฟันไม่มีการรับประกันผลลัพธ์ที่ได้จากการฟอกสีฟันที่คลินิกเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสีฟันขึ้นอยู่กับสภาพฟันของแต่ละบุคคลที่มีปฏิกิริยาต่อน้ำยาฟอกสีฟันที่แตกต่างกัน ซึ่งบางรายอาจมีการเปลี่ยนแปลงที่น้อยมากแตกต่างกัน